บริการของเรา

(บริการรักษาความปลอดภัย  อาคาร และสถานที่)

เรามีทีมงานให้คำปรึกษา ประเมินความเสี่ยงพื้นที่รับผิดชอบ วางแผนการจัดกำลังพล กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงการคัดเลือก และฝึกอบรมพนักงานให้เหมาะสมการลักษณะงานต่างๆ ตามประเภทธุรกิจ

  • ประเภทอาคารสูง อาคารสำนักงาน  อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
  • ประเภทอาคารคอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรร
  • ประเภทบริษัทเอกชน
  • ประเภทโรงแรม ,ศูนย์การค้า
  • ประเภทโรงพยาบาล
  • ประเภทสถานศึกษา
  • ประเภทโรงงานอุตสาหกรรม

 

(บริการ  สรรหา ฝึกอบรม และจัดส่งพนักงานให้บริษัทรักษาความปลอดภัยอื่นๆ)

จากประสบการณ์ที่เราบริหารงานในธุรกิจรักษาความปลอดภัยมา  เราพบว่าบริษัทรักษาความปลอดภัยจำนวนมาก  ที่พบปัญหาเรื่องการสรรหาพนักงาน และการขาดกำลังพลทดแทนจุด

ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทของเรามีการกำหนดกลยุทธ์ด้านการสรรหา และการฝึกอบรม ได้ประสบผลสำเร็จมาโดยตลอด

เราจึงจัดตั้งหน่วยธุรกิจการการสรรหาพนักงาน   จัดส่งให้บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเราจะมีการอบรมความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยให้กับพนักงานด้วย

เราพร้อมดูแลคุณ..มากกว่าความปลอดภัย

เราคือผู้นำบริการเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมาตรฐานสากล
ที่พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่คุณ

(เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย)

  • ให้บริการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ดูแล ตรวจตราความเรียบร้อยในสถานที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
  • จัดทำระเบียนการผ่านเข้า-ออกของบุคคลและรถยนต์
  • ติดตามการเข้ามาของบุคคลและรถยนต์ภายนอก
  • บันทึกรายงานการตรวจตราประจำจุดที่กำหนด
  • ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่หน่วยงานกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
  • คอยระแวดระวังภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นภายในสถานที่ที่รับผิดชอบ
  • รายงานหัวหน้าหน่วยรปภ.เมื่อพบเจอสิ่งผิดปกติหรือบุคคลต้องสงสัยโดยทันที
  • คอยให้ความเชื่อเหลือบุคคลในสถานที่อย่างเต็มความสามารถ

 

บริการของเรา
วิธีการดำเนินงานของบริษัท

(การจัดคนเข้าทำงาน)

           ถือเป็นภารกิจที่สำคัญของบริษัทฯ ต้องดำเนินการเพื่อให้องค์กรได้คนที่มีคุณสมบัติตรงตามความถูกต้องของลูกค้ามากที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด 

เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าตลอดเวลาเมื่อได้บุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว 

บริษัทฯ จะทำการฝึกอบรมด้านวิชาการด้านทหาร และอื่นๆ อย่างน้อย 7-15 วันก่อนให้ลงฝึกปฎิบัติหน้าที่

ตามหน่วยงานกับพนักงานเก่าเพื่อให้เรียนรู้ภาคปฎิบัติอย่างน้อย 1 เดือน เสร็จแล้วจึงจะจัดคนเข้าทำงานตามหน่วยงานที่เหมาะสม

(บ้านพัก)

          เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ในการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

 ทางบริษัทฯ จึงได้จัดหาบ้านพักให้ใกล้กับสถานที่ประกอบการของลูกค้าให้มากที่สุด

 เพื่อให้สะดวกและมีความคล่องตัวในการทำงานมากยิ่งขึ้นและเป็นการป้องกันเหตุของการทำงานล่าช้าของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังพลจริงไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่แทนได้ทันท่วงที

(การรับคำสั่ง)

           หัวหน้าเขตหรือหัวหน้าชุดจะเป็นผู้รับคำสั่งจากลูกค้าโดยตรง โดยคำสั่งดังกล่าวอาจจะเป็นการสั่งด้วยวาจา 

หรือเป็นลายลักษณ์อักษรจากลูกค้า หรือทางบริษัทฯ ทุกครั้งโดยหัวหน้าชุดจะเป็นผู้รับทราบ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรับทราบเช่นเดียวกัน

(การอบรม)

          นอกเหนือจากการอบรมขั้นพื้นฐาน เช่น กิริยามารยาท,การดับเพลิง,การปฐมพยาบาล,การป้องกันตัว ฯลฯ ก่อนการเข้าปฎิบัติหน้าที่ ทางบริษัทฯ จะส่งฝ่ายปฎิบัติการมาทำการฝึกอบรมเพิ่มเติม ณ สถานที่ประกอบการของลูกค้าด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจในวิธีการต่างๆ ในการรักษาความปลอดภัยได้ดียิ่งขึ้นเป็นประจำ ซึ่งในช่วงแรกที่ทางบริษัทฯ จะจัดส่งฝ่ายปฎิบัติการ ไปควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยตรง เพื่อให้การปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มีต่อลูกค้าและทางบริษัทฯ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีรูปแบบเรียกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้ามาฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบโดยรวม ณ ที่ทำการของบริษัทฯ ทุกวันที่ 15 และ 30 ของทุกเดือน (เป็นการฝึกสลับกันในแต่ละผลัดของแต่ละหน่วย) เพื่อเป็นการย้ำและเข้าใจ เสริมสร้างทัศนคติที่ดี และรับทราบถึงกฎเกณฑ์ใหม่ (ถ้ามี) ที่ทางบริษัทฯ ได้กำหนดไว้อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะอีกด้วย

 

การฝึกอบรม แบ่งเป็น 3 ลักษณะ

1. การฝึก + อบรมประจำวัน   2. การฝึก + อบรมประจำสัปดาห์  3. การฝึก + อบรมประจำเดือน

หัวข้อการฝึกอบรมตามหลักการ การรักษาความปลอดภัย

1. งาน รปภ. มาตรฐานทั่วไป

1.1 การฝึกระเบียบวินัย บุคคลท่ามือเปล่า

1.2 การฝึกการสังเกตการณ์

1.3 การฝึกท่าเดิน

1.4 การฝึกช่วยชีวิต

2. การป้องกันและปราบปราม

2.1 ฝึกการจับกุม

2.2 ฝึกต่อสู้ด้วยมือเปล่า

2.3 ฝึกการดับเพลิง

2.4 กฎหมายเกี่ยวกับ รปภ.

3. งานบริการ

3.1 การบริการลูกค้า

3.2 การช่วยเหลือลูกค้า

3.3 มารยาทต่อลูกค้า

4. การประชาสัมพันธ์

4.1 อบรมให้รู้จักผู้บังคับบัญชา

4.2 ให้รู้จักที่ตั้งร้านค้าต่างๆ ภายในหน่วยงาน

4.3 สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อห้ามของหน่วยงาน

4.4 การประชาสัมพันธ์ตามที่ศูนย์แจ้งมา

4.5 ปลูกฝังจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่

4.6 ให้ภูมิใจและรักในอาชีพ

แหล่งที่มาของบุคลากร

1. รปภ. เดิมที่มีอยู่แล้วแต่คัดเลือกให้ได้ตามคุณสมบัติ

2. การจ้างค่าแรงสูงกว่า เพื่อจะมี รปภ.ย้ายเข้ามาสมัครทำ ให้มีโอกาสในการคัดเลือกมาก

3. ตามสายการจัดหางานที่บริษัทฯ วางใจ

(เครื่องแบบและอุปกรณ์ประจำตัว)

          จะต้องดูสะอาดและเรียบร้อยเสมอ ถ้าหากตรวจพบว่ามีการละเลยต่อสิ่งเหล่านี้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 

ผู้นั้นจะถูกลงโทษตามระเบียบวินัยทันที

สำหรับในส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ตลอดเวลา กรณีอุปกรณ์ชำรุดหรือไม่ครบถ้าหากไม่มีการแจ้งให้บริษัทฯ

 ทราบจะถือว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผู้นั้นบกพร่องต่อหน้าที่อย่างรุนแรง

 

(หน้าที่โดยทั่วไป)

          เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปกป้องดูแลชีวิตและทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างไม่ให้ได้รับความสูญหายเสียหาย รวมทั้งการป้องกันอัคคีภัย 

 ผู้บุกรุกเข้าไปในเขตหวงห้าม , ป้องกันการโจรกรรมและอาชญากรรม การสูญเสียอื่นๆตลอดจนความเสียหายต่างๆในอันที่จะทำให้ผู้ว่าจ้างต้องสูญเสียผลประโยชน์ไป

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ และเชื่อฟังคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด

 

(ความรับผิดชอบในหน้าที่)

1. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในจุดหรือบริเวณที่กำหนด ( หากมีการกำหนด )

2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะละทิ้งหน้าที่ไปก่อนที่จะมีผู้เข้ารับเวรต่อเนื่องไม่ได้ ต้องรอจนกว่าจะมีผู้ที่มาเข้า

รับเวรก่อนจึงจะออกไปจากสถานที่ได้ ( เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ระดับสายตรวจขึ้นไป )

3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องมาถึงจุดที่ทำงานก่อนเวลาทำงาน ( อย่างน้อย 15 นาที ) เพื่อรับส่งมอบ

งานและประสานงานระหว่างพนักงานด้วยกันในผลัดเก่า และเมื่อเสร็จภาระหน้าที่แล้วให้ออกนอกสถานที่โดยทันที ไม่อนุญาตให้อยู่ในบริเวณสถานที่ทำงาน

4. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่ทางบริษัทฯ ได้กำหนดไว้เท่านั้น

5. ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างหรือบุคคลอื่นขอร้องให้ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดหรืองานพิเศษ จะต้องได้รับอนุญาตจากทางบริษัทฯ เสียก่อนจึงจะปฏิบัติได้

6. การตัดสินใจที่จะทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่บริษัทฯ มิได้กำหนดให้ หากเกิดความเสียหายหรือมีผู้เรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายนั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง

7. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตื่นตัว รวดเร็ว และจะต้องพร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในทุกรูปแบบ

8. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานที่ทางบริษัทฯ ให้นำติดตัวไปและพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา

9. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติตามตารางเวลาที่กำหนดไว้

10. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะแลกเปลี่ยนเวลาการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างพนักงานด้วยกันเองไม่ได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสายตรวจ หรือหัวหน้าแผนกปฏิบัติการก่อนจึงจะสามารถปฏิบัติได้

11. การหยุดพักรับประทานอาหารจะต้องทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามเวลาที่ทางบริษัทฯ กำหนดไว้

12. ห้ามนำบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของตนเข้าไปในสถานที่ทำงานของผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นญาติหรือเพื่อน หากพบเห็นถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง

(การรายงานเหตุการณ์)

1. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องรายงานเหตุการณ์ทุกๆครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ

2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเขียนรายงานเหตุการณ์ ( ตามแบบฟอร์มรายงานเหตุการณ์ ) ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ

 ที่ควรต้องรายงานหรือตามระเบียบคำสั่งที่กำหนดไว้ในสถานที่นั้นๆ

3. แบบรายงานเหตุการณ์ จะต้องมีสำเนาแบบทุกครั้งใบหนึ่งส่งผู้ว่าจ้าง อีกใบหนึ่งให้กับสายตรวจหรือบริษัทฯ แล้วแต่กรณี

4. การรายงานเหตุการณ์ หากเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งและการมีผลกระทบถึงบริษัทฯ จะต้องแจ้งผู้ว่าจ้าง หรือบริษัทฯ ทราบโดยเร็ว เช่น โทรศัพท์ ฯลฯ

5. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติของลูกจ้าง ในกรณีที่บุคคลเหล่านั้นฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย 

หรือก่อกวนให้เกิดสถานการณ์ยุ่งยากต่อผู้ว่าจ้างหรือสถานที่ทำงานนั้นๆ ต่อหัวหน้างานหรือสายตรวจ หรือผู้ว่าจ้าง ทราบโดยทันที

 

คำแนะนำพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

1. การเกิดอาชญากรรมหรือโจรกรรม

ถ้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพบว่าเกิดปัญหาอาชญากรรม 

หรือโจรกรรมขึ้นภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง จะต้องปฏิบัติดังนี้

- แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยทันที

- แจ้งให้ทางบริษัทฯ ทราบ

- แจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบ

- ห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณโดยเด็ดขาด

- ห้ามแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในบริเวณที่เกิดเหตุก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึง

2. การประสานงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะขอเข้าไปในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้างเพื่อต้องการตรวจค้น หรือเข้าไปสอบสวน 

บางสิ่งบางอย่างขอให้รายงานให้ผู้ว่าจ้างทราบก่อน เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปทำการตรวจค้น 

หรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้างโดยปราศจากหมายค้น

 

(เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าไปในสถานที่ของผู้ว่าจ้างได้ในกรณีต่อไปนี้)

1. มีหมายค้นเป็นหนังสือของทางราชการถูกต้อง

2. ผู้ว่าจ้างเชิญให้มา ( หรือได้รับอนุญาตแล้ว )

3. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเชิญให้มาเนื่องจากเกิดเหตุอาชญากรรม หรือโจรกรรมขึ้นมาภายในสถานที่ของผู้ว่าจ้าง

4. การป้องกันอัคคีภัย

          ทการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงที่ผู้ว่าจ้างจะต้องสูญเสียไปก็คือ การเกิดเหตุเพลิงไหม้ หากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่สามารถระงับต้นเพลิงได้อาจทำให้ผู้ว่าจ้างต้องสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตคนซึ่งเป็นความสูญเสียที่อาจประมาณค่ามิได้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจึงต้องคำนึงอยู่เสมอว่า การป้องกันอัคคีภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย และจะต้องทราบถึงจุดที่ตั้งของอุปกรณ์เครื่องมือดับเพลิงแต่ละชนิดที่มีอยู่ในหน่วยงานหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและการเรียนรู้การป้องกันอัคคีภัยจึงควรจะถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด กรณีเกิดเหตุไฟไหม้ หรือเมื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตรวจพบว่ามีเหตุไฟไหม้เกิดขึ้น สิ่งแรกที่สุดที่เจ้าหน้าที่จะต้องปฏิบัติคือ เข้าระงับต้นเพลิงทันทีโดยใช้เครื่องมือหรือถังดับเพลิงเคมีที่มีอยู่ในสถานที่ของผู้ว่าจ้างนั้นๆเพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามมากยิ่งขึ้น

 

(สิ่งที่ รปภ. ควรจะปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้)

1. ระงับต้นเพลิง( ดับไฟ ) ทันที

2. ช่วยเหลือชีวิตผู้ประสพภัยเท่าที่สามารถทำ

หน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ.

หนัาที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อ สวัสดิภาพ 

และทรัพย์สินของท่าน โดยหน้าที่หลักของ รปภ. สามารถจำแนกได้ดังนี้

ดูแล ป้องกัน รักษา ทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างให้รอดพ้นจากการโจรกรรม อัคคีภัย และเหตุร้ายอื่นๆ ตลอด 24 ชั่วโมง
ดูแล รักษาความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณที่รับผิดชอบตลอด 24 ชั่วโมง
ดูแล การผ่านเข้า-ออก ของบุคคลและยานพาหนะ
ตรวจเช็คทรัพย์สินที่จะนำเข้าหรือส่งออกภายในบริเวณที่รับผิดชอบตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
อำนวยความสะดวกการจราจร ทางเข้า-ออก และภายในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ
ตรวจค้นพนักงานของผู้ว่าจ้างเมื่อเลิกงานหรือก่อนที่จะออกไปนอกบริเวณบริษัทฯ โรงงานหรือกิจการอื่นๆ ตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
รปภ. มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล การลงเวลาเข้า-ออก ในการทำงานของพนักงานตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างเพื่อป้องกันการทุจริต
เปิด-ปิดประตูทางเข้า-ออก อาคารหรือสถานที่ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนดให้
มีหน้าที่ เปิด-ปิดไฟฟ้า ตามเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนดให้
ในยามวิกาล เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องเดินตรวจตราตามจุดต่างๆ ภายในบริเวณหน่วยงานที่รับผิดชอบทุก 1 ชั่วโมง
หน่วยงานใดที่มีหัวหน้าชุดคอยควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หัวหน้าชุดจะต้องเดินตรวจดูการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตาม จุดต่างๆ
ดูแล ป้องกัน การเกิดเพลิงไหม้ โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทุกนายที่เข้าปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องผ่านการฝึกอบรม ในการดับเพลิงเบื้อง ต้น เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์จริงหากกรณีเกิดเหตุ เพลิงไหม้ขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบจะได้ป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามจนไม่สามารถดับได้ อันนำมาซึ่งความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ต้องบันทึกรายงานเหตุการณ์ประจำวันในการปฏิบัติหน้าที่ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อรายงานเสนอต่อผู้ว่าจ้างเป็นประจำทุกวัน หากมีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติหน้าที่รักษาความ ปลอดภัย จะได้หาทางแก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกันระหว่างผู้ว่าจ้างกับบริษัทฯหน้าที่และความรับผิดชอบ
ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ยังต้องปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยหน้าที่และนโยบายของผู้ว่าจ้างโดยเคร่งครัดอีกส่วนหนึ่งด้วย

 

Visitors: 40,889